วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ


ประเภทของการตัดสินใจมี 2 ประเภท คือ
1. การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure)
2. การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure)


1.การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure)
     
        เมื่อมีการกำหนดโปรแกรมการตัดสินใจ องค์กรจะต้องเตรียมกฎเกณฑ์การตัดสินใจไว้ โดยแสดงขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งอาจเป็นการตัดสินใจ (flow chart) ตารางการตัดสินใจหรือสูตรต่างๆ ขั้นตอนการตัดสินใจต้องระบุถึงสารสนเทศที่ต้องการ ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับกฎเกณฑ์การตัดสินใจแบบมีโครงสร้างนั้น จำเป็นต้องมีระบบสารสนเทศอย่างเด่นชัดและมีการนำข้อมูลเข้าที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างแน่นอน มีขั้นตอนการตรวจสอบจนเป็นที่แน่ใจได้ว่าถูกต้อง ทั้งความสมบูรณ์ของ การนำข้อมูลเข้าและการประมวลผล โดยใช้หลักการตัดสินใจทางตรรก (logic) และผลลัพธ์ที่ได้จากการตัดสินใจแบบนี้ จะอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน คือ จะต้องเด่นชัดในแง่ที่ว่า จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรและควรมีข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะช่วยให้ผู้รับสามารถนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจ จากหลายๆ กรณีที่ไม่อาจจะกำหนดขั้นตอนหรือกฎเกณฑ์การตัดสินใจเพื่อประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ธรรมดาทั่วๆ ไป ให้ได้มากที่สุดสำหรับสถานการณ์ที่แตกต่างออกไป และไม่สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ได้ เราจะใช้คนเป็นผู้ตัดสินใจ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน

2.การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure)
     
         การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง ย่อมไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจไว้ก่อนล่วงหน้า อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่บ่อยครั้ง ทำให้องค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายใน การเตรียมขั้นตอน การตัดสินใจหรือความไม่เข้าใจวิธีการประมวลดีพอหรือมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง จนไม่สามารถจะกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจที่เป็นถาวรได้ สิ่งสนับสนุนการตัดสินใจโครงสร้างแบบนี้ ได้แก่ การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และขั้นตอนการตัดสินใจที่จะประยุกต์เพื่อหาคำตอบจากปัญหา ข้อมูลที่ต้องการอาจจะจัดหามาก่อนล่วงหน้า ดังนั้นการดึงข้อมูลอาจเกิดตามการร้องขอระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างจะใช้วิธีการถาม – ตอบและการวิเคราะห์


ELS     

GDSS       






ความแตกต่างของระบบ EIS และ ระบบ GDSS
   
EIS คือ ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล    

GDSS คือ ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม

ระบบของ GDSS จะเน้นออกแบบไปในทางที่ประชากรเป็นกลุ่มๆ ทางด้านความสามารถนั้น
จะต้องหาบุคลากรที่มีความชำนาญในด้านนี้พอสมควร ในด้านข้อมูลถือว่ามีความละเอียดสูงโดยจะได้รับความคิดเห็นได้หลากหลาย แล้วนำข้อเสนอหรือความคิดเห็นมาปรับปรุงแก้ไขได้
   ส่วนของระบบ EIS จะเน้นไปในทางของผู้บริหารเพียงอย่างเดียว ข้อมูลที่ได้มีความรวดเร็วเป็นสถานการณ์ปัจจุบัน โดย จะสามารถวิเคราะห์แนวโน้มในภายภาคหน้าได้ ซึ่งเป็นระบบสำคัญให้กับองค์กรหรือบริษัทของผู้บริหารเป็นอย่างดี เป็นตัวช่วยในหารตัดสินใจที่ดี

ที่มา
http://thanasite.blogspot.com/2013/06/eis-gdss.html
http://ppun11811.blogspot.com/2013/06/eis-gdss.html




ตัวอย่างการใช้งาน DSS

การใช้ DSS ในสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ (DSS at American Airline)





 American Analytical Information Management System (AAIMS) เป็นตัวอย่างดั้งเดิมสำหรับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ซึ่งใช้กับการผลิตเครื่องบิน การวิเคราะห์ทางการเงิน การให้คำปรึกษาและการทำงานร่วมกัน ซึ่ง AAIMS มีการสนับสนุนการตัดสินใจของสายการบินโดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บจากสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการผลิตเครื่องบิน การจัดที่นั่งให้เหมาะสมถูกต้อง และสถิติทางการบิน เช่น การคาดการณ์สำหรับสายการบินในส่วนแบ่งการตลาด รายได้และผลกำไร การแบ่งประเภทของตั๋วเครื่องบิน ราคา และอื่น