วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Computer Project


ใช้คอมพิวเตอร์ลิงก์กับรถบังคับเพื่อควบคุมรถบังคับ

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างสื่อการเรียนรู้


ตัวอย่างของสื่อการเรียนรู้

Microsoft PowerPoint


โปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007 เป็นโปรแกรมหนึ่งในตระกูล Microsoft Office เหมาะสำหรับ
การจัดสร้างงานนำเสนอข้อมูล (Presentation) สำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในงานได้หลายประเภท เช่น การนำเสนอข้อมูลสินค้าและบริการ การจัดทำSlide Show การออกแบบแผ่นพับ เป็นต้น

หลักการทำงานของ PowerPoint

สำหรับ หลักการทำงานของ Presentation ที่สร้างจาก PowerPoint จะสร้างออกเป็น slide ย่อยๆ

แต่ละ slide สามารถใส่ข้อมูล รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง เพื่อสร้างความน่าสนใจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้เรายังสามารถกำหนดให้ Presentationของเรา นำเสนอออกมาแบบในรูปแบบอัตโนมัติได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการกดเลือกให้แสดงทีละ slide


       ก่อนเริ่มต้นสร้าง Presentation ควรกำหนดรูปแบบของ Presentation ของเราก่อนว่า ต้องการให้แสดงออกในรูปแบบใด เช่น ต้องการให้ส่วนด้านบน แสดงเป็นชื่อหัวข้อ ด้านล่างเป็นชื่อบริษัท และฉากหลังใหแสดงเป็นสีน้ำเงิน เป็นต้น แต่ถ้ายังคิดไม่ออก สามารถเลือกรูปแบบจาก ตัวอย่าง Themes (เวอร์ชั่นเก่าเรียกว่า Template) ที่โปรแกรมมีไว้ให้ได้ เช่นเดียวกัน




ไฮเปอร์บุ๊ก (Hyperbook)
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แต่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ก็คือ หนังสือที่เก็บอยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ หรือเก็บไว้อยู่ในแบบของไฟล์ โปรแกรมส่วนมากที่เข้าใจกันคือ หนังสือที่เก็บในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องใช้กระดาษ และมีการสร้างจากคอมพิวเตอร์ และสามารถอ่านได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่าง คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก พีดีเอ(Personal Digital Assistant) Palm และ PocketPC หรือกระทั่งอ่านได้จากโทรศัพท์มือถือบางรุ่น

E-book เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่จะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ด้วยความสะดวกสบายของทั้งการสร้าง E-book ความสะดวกในการพกพา ขนาดที่เล็ก และสามารถอ่านได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีอุปกรณ์พกพาที่สามารถอ่าน E-book ได้ สามารถสร้างให้ E-book นอกจากจะมีสีสันสวยงามเพื่อง่ายต่อการอ่าน และทำความเข้าใจแล้ว ยังสามารถใส่เสียง ภาพเคลื่อนไหว สร้างสารบัญ (Link) หรือการคลิกเพื่อส่ง E-Mail ไปยังผู้เขียน หรือ E-Mail ใน E-book ก็ได้


ตัวอย่างของไฮเปอร์บุ๊ก



ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext)

ไฮเปอร์เท็กซ์ หมายถึง ข้อความหรือกลุ่มของข้อความที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยมีการนำเสนอแบบปฏิสัมพันธ์ โดยการนำข้อความที่ใช้ มาเป็นจุดเชื่อมโยง ซึ่งจะมีลักษณะเด่นกว่าข้อความอื่น เช่น การขีดเส้นใต้ การเน้นด้วยสี ตัวหนา หรือตัวเอียง เป็นต้น

credit. : https://sites.google.com/site/porkaermpowerpoint/1
http://nicennnn.blogspot.com/2013/12/hyperbook.html

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ตัวอย่าง รูปเล่มโครงงานคอมพิวเตอร์


โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)





เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
     โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ


ตัวอย่างโปรแกรม CAI






ชื่อ โปรแกรม ENGLISH CAI







ตัวอย่างเกมส์เพื่อการศึึกษา




ชื่อ โปรแกรม วิ่งร่อนย้อนยุค

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต


การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต



การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หมายถึง การเชื่อมต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือคอมพิวเตอร์ใดๆ หรืออุปกรณ์มือถือ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการต่างๆในอินเทอร์เน็ตได้ (เช่นอีเมลและเวิลด์ไวด์เว็บผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider, ISP) เสนอการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้ประชาชนทั่วไปผ่านทางเทคโนโลยีต่างๆที่มีความหลากหลายของอัตราการส่งสัญญาณข้อมูล (ความเร็ว)

ประเภทของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
oooooเป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต
Dail-up-modem
2.การเชื่อมต่อแบบ ISDN(Internet Services Digital Network)
          เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ
1.ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN
2.การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
3.ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่
ISDN2
3.การเชื่อมต่อแบบ DSL(Digital Subscriber Line)
        เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ
1.ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่
2.บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL
3.การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ
4.ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
Assignment_lanka_DSL
4.การเชื่อมต่อแบบ Cable
           oเป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
1.ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ
2.ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
images
5.การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites)
oooooเป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
1.จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
2.ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
clip7_image001

วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำศัพท์คอมพิวเตอร์

คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


1. Computer = คอมพิวเตอร์

2. Software = ชุดคำสั่งหรือโปรแกรม

3. Hardware = อุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก

4. Input unit = หน่วยรับเข้า

5. Output unit = หน่วยส่งออก

6. Main Memory unit = หน่วยความจำหลัก 

7. Secondary memory unit = หน่วยความจำรอง

8. Keyboard = แป้นพิมพ์

9. Word = คำหรือคำศัพท์

10. Ram = เก็บข้อมูลและโปรแกรม

11. Online = การติดต่อ

12. Upload = การโหลดข้อมูล 

13. Network = เครือข่าย 

14. Fax modem = โมเด็มที่ส่งแฟกซ์ได้ 

15. Web Site = หน้าต่างของเนต 

16. Antivirus Program = โปรแกรมป้องกันไวรัส

17. Computer System = ระบบคอมพิวเตอร์

18. Information System = ระบบขอมูล

19. Computer Network = ระบบเครือข่าย

20. User = ผู้ใช้

21. Account = บัญชีผู้ใช้

22. USB = หน่วยเก็บข้อมูล

23. .net = แสดงเว็บของบริษัท

24. Keyword = รหัสของบางโปรแกรม

25. Multimedia = สื่อประสม

26. Bus = การเชื่อมต่อเครือข่าย

27. Browser = เป็นชื่อใช้เรียกซอฟต์แวร์

28. Bug = ความผิดพลาดของคอม

29. Database = ฐานข้อมูล

30. CD-ROM = ตัวจัดการกับแผ่นต่างๆ

31. Compact Disc = อุปกรณ์ประเภทแผ่น

32. Mouse = เมาส์

33. Light pen = ปากกาแสง

34. Track ball = ลูกกลมควบคุม

35. Joystick = ก้านควบคุม

36. Scanner = เครื่องกราดตรวจ

37. Touch screen = จอสัมผัส

38. Control Unit = หน่วยควบคุม

39. Rom = หน่วยความจำแบบอ่าน

40. Diskette = แผ่นบันทึก

41. Harddisk = ฮาร์ดดิสก์

42. Magnetic Tape = เทปแม่เหล็ก

43. Monitor = จอภาพ

44. Printer = เครื่องพิมพ์

45. Laser printer = เครื่องพิมพ์เลเซอร์

46. Line printer = เครื่องพิมพ์รายบรรทัด

47. Speaker = ลำโพง

48. Microsoft Word = โปรแกรมเวิร์ด

49. Microsoft Excel = โปรแกรมเอกเซล

50. Microsoft PowerPoint = โปรแกรมเพาเวอร์พอยต์

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่

COOL Leaf คีย์บอร์ดกระจก
















COOL LEAF เป็นคีย์บอร์ดที่่บางเฉียบ-แบนราบไปกับพื้นเรียบได้เลย โดยด้านบนของมันจะเป็นพื้่นผิวเรียบสะท้อนแสงได้เหมือนกระจกส่องหน้าไม่มีผิด ซึ่งทางบริษัทผู้ผลิตกล่าวว่า มันทำจากชั้นฟิล์มพลาสติก PET ซ้อนกันถึง 2,000 ชั้น ไม่ว่ามันจะหมายถึงอะไรก็ตาม แต่เซ็นเซอร์รับสัญญาณที่ซ้อนทับกันเป็นช่องภายใต้คีย์บอร์ดจะสามารถตรวจจับแรงกดของผู้ใช้ทันทีที่ใช้นิ้วออกแรงสัมผัสพื้นผิวกระจกด้านบน แม้จะดูเหมือนแผ่นกระจกทั่วไป แต่ LED ที่อยู่ด้านล่างสามารถส่องสว่าง เพื่อให้แสงทะลุผ่านช่องตัวอักษรของปุ่มต่างๆ ขึ้นมาปรากฎให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในที่ๆ มีแสงน้อย หรือแสงภายในอาคาร ทั้งนี้ ผู้ใช้สามารถปรับระดับความดังของเสียง beep ที่บอกให้รู้ว่า คุณได้กดปุ่มนั้นๆ
ประโยชน์อื่นๆ ที่ได้รับนอกจากความเท่ และบางเบา นั่นก็คือ ด้วยความที่มันมีคุณสมบัติเป็นพื้นผิวเรียบเหมือนกระจก ดังน้้นผู้ใช้ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับสิ่งสกปรกที่จะตกลงไปในช่องระหว่างคีย์บอร์ดเหมือนทั่วไป แต่แน่นอนว่า มันจะมีรอยมันของนิ้วมือหลงเหลือให้เห็นเป็นร่อยรอยอยู่บ้าง ซึ่งง่ายมากต่อการทำความสะอาด COOL LEAF จะมีปุ่มกด 108 คีย์ และเชื่อมต่อผ่าน USB ทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการ Windows 7, Vista และ XP (ยังไม่สามารถใช้ได้กับ Mac หรือ Linux) สำหรับคุณผู้อ่านที่สนใจสามารถสั่งซื้อ “คีย์บอร์ด-กระจก” Minebea COOL LEAF ได้จากเว็บไซต์ Dynamismสนนราคาอยู่ที่ 249.99 เหรียญฯ หรือประมาณ 7,500 บาท


Application เพื่อการศึกษา

Longdo Dict





Longdo Dict คือ ดิกชั่นนารีออนไลน์ไทย-อังกฤษ และ อังกฤษ-ไทย สำหรับ App Store ของค่าย

แอปเปิล โดยรวบรวมข้อมูลมาจากแหล่งข้อมูลหลากหลายทำให้การแปลความหมายค่อนข้าง

ครอบคลุม พร้อมมีตัวอย่างประโยคประกอบด้วย นอกจากนั้นยังจัดเก็บข้อมูลศัพท์ที่เราเปิดใช้มาแล้ว ไว้

ทบทวน หรือค้นหาดูได้ง่ายทีหลัง ริ่มต้นใช้งานในช่องค้นหา ด้วยการพิมพ์ศัพท์ที่ต้องการทราบความ

หมาย จริงๆไม่ต้องพิมพ์เต็มคำก็ได้ แค่ไม่กี่ตัวอักษรก็จะมีศัพท์ตัวเลือกขึ้นมารอให้คลิกเข้าไปได้เลย 

เราสามารถเลื่อนดูและเลือกคลิกคำที่ต้องการจริงๆ ก็จะเข้าไปสู่หน้าคำแปลของศัพท์คำนั้น จะเห็นคำ

แปลที่แตกต่างหลากหลายจากดิกชันนารี่แหล่งต่างๆ ส่วนใหญ่ก็จะมีตัวอย่างประโยคให้ดูด้วยว่าใช้กัน

อย่างไร เสร็จแล้วก็คลิกลูกศรด้านบนซ้ายมือเพื่อย้อนกลับไปค้นศัพท์ตัวใหม่ อาจสะดุดนิดหนึ่งตรงที่จะ

ต้องคลิกเครื่องหมายปิดในช่องค้นหาก่อนจะพิมพ์ศัพท์คำใหม่ ไม่เช่นนั้นศัพท์ใหม่ที่พิมพ์จะต่อ

เนื่องจากศัพท์เดิม ทำให้เสียเวลามาลบทิ้งอีก และเมื่อเสร็จสิ้นการค้นศัพท์ อยากไปทบทวนศัพท์ต่างๆ 

ที่เคยค้นหามาก่อนหน้า ก็ให้คลิกปุ่ม Done มุมซ้ายมือด้านบนก็จะกลับไปสู่หน้าแรก จะเห็นศัพท์ต่างๆ 

ของเราปรากฏอยู่ในช่อง Search History

ที่มา http://coolappforwork.blogspot.com/2014/04/longdo-dict.html

อุปกรณ์พื้นฐานคอมพิวเตอร์

วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ


ประเภทของการตัดสินใจมี 2 ประเภท คือ
1. การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure)
2. การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure)


1.การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure)
     
        เมื่อมีการกำหนดโปรแกรมการตัดสินใจ องค์กรจะต้องเตรียมกฎเกณฑ์การตัดสินใจไว้ โดยแสดงขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งอาจเป็นการตัดสินใจ (flow chart) ตารางการตัดสินใจหรือสูตรต่างๆ ขั้นตอนการตัดสินใจต้องระบุถึงสารสนเทศที่ต้องการ ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับกฎเกณฑ์การตัดสินใจแบบมีโครงสร้างนั้น จำเป็นต้องมีระบบสารสนเทศอย่างเด่นชัดและมีการนำข้อมูลเข้าที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างแน่นอน มีขั้นตอนการตรวจสอบจนเป็นที่แน่ใจได้ว่าถูกต้อง ทั้งความสมบูรณ์ของ การนำข้อมูลเข้าและการประมวลผล โดยใช้หลักการตัดสินใจทางตรรก (logic) และผลลัพธ์ที่ได้จากการตัดสินใจแบบนี้ จะอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน คือ จะต้องเด่นชัดในแง่ที่ว่า จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรและควรมีข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะช่วยให้ผู้รับสามารถนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจ จากหลายๆ กรณีที่ไม่อาจจะกำหนดขั้นตอนหรือกฎเกณฑ์การตัดสินใจเพื่อประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ธรรมดาทั่วๆ ไป ให้ได้มากที่สุดสำหรับสถานการณ์ที่แตกต่างออกไป และไม่สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ได้ เราจะใช้คนเป็นผู้ตัดสินใจ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน

2.การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure)
     
         การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง ย่อมไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจไว้ก่อนล่วงหน้า อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่บ่อยครั้ง ทำให้องค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายใน การเตรียมขั้นตอน การตัดสินใจหรือความไม่เข้าใจวิธีการประมวลดีพอหรือมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง จนไม่สามารถจะกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจที่เป็นถาวรได้ สิ่งสนับสนุนการตัดสินใจโครงสร้างแบบนี้ ได้แก่ การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และขั้นตอนการตัดสินใจที่จะประยุกต์เพื่อหาคำตอบจากปัญหา ข้อมูลที่ต้องการอาจจะจัดหามาก่อนล่วงหน้า ดังนั้นการดึงข้อมูลอาจเกิดตามการร้องขอระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างจะใช้วิธีการถาม – ตอบและการวิเคราะห์


ELS     

GDSS       






ความแตกต่างของระบบ EIS และ ระบบ GDSS
   
EIS คือ ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล    

GDSS คือ ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม

ระบบของ GDSS จะเน้นออกแบบไปในทางที่ประชากรเป็นกลุ่มๆ ทางด้านความสามารถนั้น
จะต้องหาบุคลากรที่มีความชำนาญในด้านนี้พอสมควร ในด้านข้อมูลถือว่ามีความละเอียดสูงโดยจะได้รับความคิดเห็นได้หลากหลาย แล้วนำข้อเสนอหรือความคิดเห็นมาปรับปรุงแก้ไขได้
   ส่วนของระบบ EIS จะเน้นไปในทางของผู้บริหารเพียงอย่างเดียว ข้อมูลที่ได้มีความรวดเร็วเป็นสถานการณ์ปัจจุบัน โดย จะสามารถวิเคราะห์แนวโน้มในภายภาคหน้าได้ ซึ่งเป็นระบบสำคัญให้กับองค์กรหรือบริษัทของผู้บริหารเป็นอย่างดี เป็นตัวช่วยในหารตัดสินใจที่ดี

ที่มา
http://thanasite.blogspot.com/2013/06/eis-gdss.html
http://ppun11811.blogspot.com/2013/06/eis-gdss.html




ตัวอย่างการใช้งาน DSS

การใช้ DSS ในสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ (DSS at American Airline)





 American Analytical Information Management System (AAIMS) เป็นตัวอย่างดั้งเดิมสำหรับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ซึ่งใช้กับการผลิตเครื่องบิน การวิเคราะห์ทางการเงิน การให้คำปรึกษาและการทำงานร่วมกัน ซึ่ง AAIMS มีการสนับสนุนการตัดสินใจของสายการบินโดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บจากสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการผลิตเครื่องบิน การจัดที่นั่งให้เหมาะสมถูกต้อง และสถิติทางการบิน เช่น การคาดการณ์สำหรับสายการบินในส่วนแบ่งการตลาด รายได้และผลกำไร การแบ่งประเภทของตั๋วเครื่องบิน ราคา และอื่น

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)


ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
        
                ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่มและองค์การต่างๆ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คืออะไร

        DSS เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSSยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ดังนั้นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ จึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ (Model) และทรัพยากรอื่นๆ ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหา ดังนั้นหลักการของDSS จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น


Decision support system (DSS)

A decision support system (DSS) is a computer program application that analyzes business data and presents it so that users can make business decisions more easily. It is an "informational application" (to distinguish it from an "operational application" that collects the data in the course of normal business operation).Typical information that a decision support application might gather and present would be:
  • Comparative sales figures between one week and the next
  • Projected revenue figures based on new product sales assumptions
  • The consequences of different decision alternatives, given past experience in a context that is described
A decision support system may present information graphically and may include an expert system or artificial intelligence (AI). It may be aimed at business executives or some other group of knowledge workers.